CHULA MOOC
07 พฤษภาคม 2567

ปรับตัวในวันที่โลกเปลี่ยนเเปลง



  • “ความรู้หลายอย่างในวันนี้จะล้าสมัยในอนาคต”


  • การเรียนรู้มักจะเริ่มต้นจากสิ่งที่เราสนใจ มาทบทวนกันดูว่า เรื่องอะไรบ้างที่เราสนใจ แล้วลองสร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับตัวเอง

  • 5 เทคนิค สร้างการเรียนรู้ตลอดชีวิตให้กับตัวเอง

  • 1. ฝึกตัวเองให้มี Growth Mindset คือพร้อมที่จะเรียนและปรับตัวในทุกสถานการณ์  และคิดอยู่เสมอว่าเราสามารถพัฒนาได้ แม้ไม่เก่งก็ฝึกได้จากการทำงานหนัก การเรียนรู้ และการลองทำสิ่งใหม่ๆ ต่างจากคนที่มี Fixed Mindset ที่เชื่อว่าความฉลาดหรือความเก่งเป็นเรื่องที่ติดตัวมาแต่กำเนิด คนที่ไม่ฉลาดหรือไม่เก่งจะไม่สามารถพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นได้ จนทำให้ไม่กล้าออกไปลองทำสิ่งใหม่ๆ เพราะมักคิดว่าแบบเดิมดีอยู่แล้ว ถ้าลองไปทำสิ่งใหม่แล้วผิดพลาด ผลลัพธ์อาจจะแย่กว่าเดิม

  • 2. พาตัวเองไปอยู่ท่ามกลางคนที่หมั่นพัฒนาตัวเอง  ถ้าคนรอบข้างเก่ง เราก็ยิ่งอยากเก่งตามคนกลุ่มนั้น ถ้าคนรอบข้างเราเป็นคนที่หมั่นขยันหาความรู้ตลอดเวลา เชื่อว่าอย่างน้อย เราก็ต้องได้รับนิสัยเหล่านั้นมาจากเขาอย่างแน่นอน เพราะเขาจะเป็นเหมือนแรงบันดาลใจในการเรียนรู้สิ่งใหม่ๆ หรือจุดประกายให้เราได้เห็นมุมมองในอีกหนึ่งมุมที่เราอาจไม่เคยเห็นมาก่อน ลองเอาตัวเองไปอยู่ในสภาพแวดล้อมที่จะทำให้เกิดการเรียนรู้ใหม่ๆ เช่น ถ้าอยากรู้เรื่องงานศิลปะให้ลองไปงานนิทรรศการศิลปะต่างๆ ถ้าอยากมี แรงบันดาลใจให้ลองฟังคลิปของคนที่มีทัศนคติ  หรือมีมุมมองด้านดีๆ หรือถ้าสนใจอยากรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่ง ก็พาตัวเองเข้าไปอยู่ในเพจที่มีคนสนใจในเรื่องนั้นเหมือนกันกับเรา

  • 3. Active Learning เรียนรู้จากการลงมือทำ การลงมือทำจะทำให้เกิดการเรียนรู้มากกว่าฟังหรือท่องจำ เราควรใช้การเรียนรู้แบบ Active Learning หรือการเรียนรู้ด้วยการลงมือทำ ซึ่งเป็นรูปแบบการเรียนรู้ได้ใช้ทั้งกระบวนการคิดและปฏิบัติ เพื่อให้พัฒนาศักยภาพที่แท้จริงของเรา สามารถเชื่อมโยงความรู้ที่เคยเรียนมาในอดีต เพื่อมาประยุกต์ต่อยอดในการทำงาน พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับผู้อื่น จะทำให้เราเห็นมุมมองของเขา และเกิดความสงสัยขึ้นว่า เราจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับเขา เพราะอะไร ทำให้เราได้คิดตาม ช่วยให้เกิดกระบวนการเรียนรู้และหาคำตอบ

  • 4. Self-directed learning การเรียนรู้ในแบบของตัวเอง การเรียนรู้ในแบบที่เหมาะสมกับตัวเองทำให้เราสามารถกำหนดลำดับ วิธีการ เวลา และเป้าหมายการเรียนรู้ของตัวเองได้ดีและสนุกกับการได้เรียนรู้ เพราะทำให้เรามีอิสระ สามารถเลือกทางของตัวเอง และพัฒนาศักยภาพที่เรามีอยู่ได้อย่างไม่มีขีดจำกัด แต่ละคนชอบการเรียนรู้ที่ต่างกัน เช่น บางคนชอบเรียนรู้ด้วยตัวเอง หาหนังสืออ่านเอง บางคนชอบเรียนออนไลน์ เพราะชอบที่จะมีคนมาอธิบายให้ฟัง บางคนก็ชอบเล่าอธิบายเรื่องที่อ่านมาให้คนอื่นฟังเพื่อจะได้ช่วยให้จดจำสิ่งนั้นๆ ได้ดียิ่งขึ้น บางคนชอบเรียนรู้ด้วยการจดโน้ตเพื่อที่จะได้กลับมาทบทวนอีกครั้ง การเรียนรู้ของแต่ละคนมักได้ผลดีในเวลาที่แตกต่างกัน เช่น บางคนชอบอ่านหนังสือตอนเช้า เพราะรู้สึกว่าสมองปลอดโปร่ง พร้อมรับความรู้ใหม่ๆ แต่บางคนชอบอ่านหนังสือตอนกลางคืน เพราะรู้สึกสงบกว่า และทำให้เกิดการเรียนรู้ ได้ดีกว่า ลองดูว่าการเรียนรู้แบบไหนที่เป็น Self-directed Learning ของเรา

  • 5. กระตุ้นตัวเองเพื่อสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้ เมื่อเราก้าวออกจากโรงเรียนหรือวิทยาลัย จะไม่มีใครมาคอยกระตุ้นให้เราเรียน เพราะฉะนั้นเราต้องกระตุ้น และผลักดันตัวเองให้ไปอยู่ในที่ๆ ทำให้โอกาสในการหาความรู้มีเพิ่มขึ้น และแม้ว่าบรรยากาศในการเรียนรู้จะหมดไป เพราะเราไม่ได้อยู่ในห้องเรียน แต่การเรียนรู้ ใหม่ๆ จะเกิดขึ้นได้เสมอ ทำให้โอกาสในหาการความรู้มีเพิ่มขึ้น เช่น อินเทอร์เน็ตที่เราสามารถหาความรู้ได้ตลอดเวลา งานเสวนาหรืองานฝึกอบรมต่างๆ ทำให้เรามีโอกาสในการพบปะผู้คนใหม่ๆ มากขึ้น


เเหล่งที่มา 

https://www.yuvabadhanafoundation.org/th/%E0%B8%82%E0%B9%88%E0%B8%B2%E0%B8%A7%E0%B8%AA%E0%B8%B2%E0%B8%A3/%E0%B8%9A%E0%B8%97%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B9%88%E0%B8%A7%E0%B9%84%E0%B8%9B/%E0%B8%97%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%A9%E0%B8%B0-%E0%B8%81%E0%B8%B2%E0%B8%A3%E0%B9%80%E0%B8%A3%E0%B8%B5%E0%B8%A2%E0%B8%99%E0%B8%A3%E0%B8%B9%E0%B9%89-learning/

https://www.eef.or.th/wp-content/uploads/2023/10/%E0%B8%97%E0%B8%B8%E0%B8%99%E0%B8%A1%E0%B8%99%E0%B8%B8%E0%B8%A9%E0%B8%A2%E0%B9%8C%E0%B9%80%E0%B8%9E%E0%B8%B7%E0%B9%88%E0%B8%AD%E0%B8%9E%E0%B9%89%E0%B8%99%E0%B8%84%E0%B8%A7%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A2%E0%B8%B2%E0%B8%81%E0%B8%88%E0%B8%99%E0%B8%82%E0%B9%89%E0%B8%B2%E0%B8%A1%E0%B8%A3%E0%B8%B8%E0%B9%88%E0%B8%99.pdf