วิธีการเล่นหมากรุกสากล(ให้เก่ง). ก่อนที่เราจะเล่นหมากรุกสากลให้เก่งนั้นเร… | by ธนโรจน์ กังแฮ | Medium

วิธีการเล่นหมากรุกสากล(ให้เก่ง)

ก่อนที่เราจะเล่นหมากรุกสากลให้เก่งนั้นเราต้องรู้กติกาเสียก่อนดังนั้นเชิญชมกติกาของหมากรุกสากลได้เลยครับ

หมากรุกสากล เป็นเกมกระดานแนววางแผนสองผู้เล่น เล่นกันบนกระดานหมากรุก ซึ่งเป็นกระดานสี่จัตุรัส 64 ช่อง จัดเรียงแบบ 8×8 หมากรุกสากลเป็นเกมที่ได้รับความนิยมมากที่สุดในโลกเกมหนึ่ง โดยมีผู้เล่นหลายล้านคนในในการแข่งขัน

ผู้เล่นแต่ละคนเริ่มต้นด้วยตัวหมากรุก 16 ตัว ได้แก่ King(คิง) 1ตัว Queen(ควีน) 1ตัว Rook(เรือ)2ตัว Bishop(บิชอพ)2ตัวKnight(ม้า)2ตัว Pawn(เบี้ย) 8ตัว หมากรุกทั้ง 6 ประเภทมีการเดินแตกต่างกัน ตัวหมากรุกใช้โจมตีและยึดตัวหมากรุกฝ่ายตรงข้าม โดยมีเป้าหมายเพื่อ “รุกจน” (checkmate) คิงของฝ่ายตรงข้ามโดยทำให้คิงนั้นเสี่ยงต่อการถูกยึดและเดินหนีไม่ได้ (inescapable threat of capture) นอกเหนือไปจากการรุกจนแล้ว หมากรุกสากลยังชนะได้หากฝ่ายตรงข้ามสมัครใจถอนตัว ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อเสียตัวหมากรุกมากเกินไป หรือหากการรุกจนดูเหมือนจะเกิดขึ้นแน่นอน หมากรุกสากลยังอาจจบลงด้วยการเสมอในหลายวิธี โดยไม่มีผู้เล่นฝ่ายใดชนะ

การตั้งกระดาน ทั้ง 2 ฝ่ายจะมีเบี้ยทั้ง 8 ตัวปิดด้านหน้า 1 แถว แล้วจะตั้งหมากดังนี้(ซ้ายไปขวา)เรือ-ม้า-บิชอพ-ควีน-คิง-บิชอพ-ม้า-เรือ

การเดินหมาก ฝ่ายขาวเดินก่อนเสมอ หลังการเดินครั้งแรก ผู้เล่นสลับกันเดินหมากหนึ่งตัวต่อตาเดิน (ยกเว้นการเข้าป้อม [castling] ซึ่งมีการเดินหมากสองตัว) ตัวหมากสามารถเดินไปยังจัตุรัสที่ยังไม่มีตัวหมากอยู่ หรือจัตุรัสที่มีตัวหมากของฝั่งตรงข้ามอยู่แล้วก็ได้ ซึ่งเมื่อเดินไปยังจัตุรัสนั้น ตัวหมากฝ่ายตรงข้ามจะถูกยึดและนำออกจากการเล่น ตัวหมากทุกตัวยึดตัวหมากของฝ่ายตรงข้ามโดยเดินมายังจัตุรัสซึ่งมีตัวหมากฝ่ายตรงข้ามอยู่ โดยมีข้อยกเว้นเดียวคือ การกินผ่าน (en passant) ผู้เล่นไม่สามารถเดินตาที่ทำให้คิงถูกโจมตีได้ หากเมื่อถึงตาผู้เล่นแล้วผู้เล่นนั้นไม่สามารถเดินได้ เกมจะจบลง ซึ่งอาจเป็นการรุกจน (การแพ้สำหรับผู้เล่นที่ไม่มีตาเดินตามกฎ) หากคิงถูกโจมตี หรือเสมอหากคิงไม่ถูกโจมตี

  • คิงเดินได้หนึ่งช่องในทุกทิศทาง คิงยังมีการเดินพิเศษเรียกว่า การเข้าป้อม ซึ่งเกี่ยวกับการเดินเรือด้วย
  • เรือสามารถเดินกี่ช่องก็ได้ในแรงค์และไฟล์เดียวกัน แต่ไม่สามารถกระโดดข้ามตัวหมากอื่นได้ เรือเข้ามาเกี่ยวข้องในการเดินเข้าป้อมของคิง
  • บิชอปสามารถเดินกี่ช่องก็ได้ในแนวทแยง แต่ไม่สามารถกระโดดข้ามตัวหมากอื่น
  • ควีนเป็นการรวมการเดินของเรือและบิชอปเข้าด้วยกัน และสามารถเดินกี่ช่องก็ได้ทั้งในแรงค์และไฟล์เดียวกัน หรือในแนวทแยง แต่ไม่สามารถกระโดดข้ามตัวหมากอื่นได้
  • อัศวินเดินไปยังช่องใกล้ที่สุดที่มิได้อยู่ในแรงค์และไฟล์เดียวกัน หรือในแนวทแยง ฉะนั้นตาเดินจึงเป็นรูปตัว L คือ เดินสองช่องในแนวตั้งและหนึ่งช่องในแนวนอน หรือสองช่องในแนวนอนและหนึ่งช่องในแนวตั้ง อัศวินเป็นหมากตัวเดียวที่สามารถกระโดดข้ามหมากอื่นได้
  • เบี้ยสามารถเดินหน้าไปยังจัตุรัสที่อยู่หน้ามันในไฟล์เดียวกัน หรือในตาเดินแรกอาจเดินสองช่องในไฟล์เดียวกันได้ หากทั้งสองช่องที่อยู่หน้ามันไม่มีตัวหมากอื่นอยู่ (“●” ดำในแผนภาพ) หรือเบี้ยสามารถยึดหมากฝ่ายตรงข้ามในจัตุรัสที่อยู่แนวทแยงหน้ามันในไฟล์ติดกันโดยการเดินไปยังจัตุรัสนั้น (“x” ดำ) เบี้ยมีการเดินพิเศษสองแบบ คือ การยึดกินผ่านและการเลื่อนขั้น (promotion)

การเข้าป้อม (castling) คิงสามารถเดินแบบพิเศษ เรียกว่า การเข้าป้อม ได้หนึ่งครั้งต่อเกม การเข้าป้อมประกอบด้วยการเดินคิงสองช่องไปหาเรือ (ซึ่งอยู่ในแรงค์ที่ 1) และวางเรือไว้จัตุรัสสุดท้ายที่คิงเพิ่งข้ามมา การเข้าป้อมสามารถทำได้เฉพาะเมื่อเข้าเงื่อนไขต่อไปนี้ 1.คิงและเรือที่เข้าป้อมนั้นต้องยังไม่ได้เดินในกระดานนั้น 2.ต้องไม่มีตัวหมากขวางระหว่างคิงและเรือ 3.ต้องไม่เข้าป้อมแล้วทำให้คิงถูกรุก หรือเพื่อให้คิงพ้นจากรุก หรือผ่านรุก (into check, out of check, or through check)

การกินผ่าน (en passant) เมื่อเบี้ยเดินหน้าสองช่องจากตำแหน่งเริ่มต้นและมีเบี้ยฝ่ายตรงข้ามในไฟล์ติดกันที่อยู่ประชิดจัตุรัสปลายทาง แล้วเบี้ยฝ่ายตรงข้ามสามารถยึดเบี้ยนั้นได้ขณะผ่าน แล้วเดินไปยังจัตุรัสที่เบี้ยนั้นเดินเลยมา อย่างไรก็ดี การเดินแบบนี้สามารถทำได้ในตาถัดไปเท่านั้น ตัวอย่างเช่น หากเบี้ยดำเพิ่งเดินหน้าสองช่องจาก g7 (ตำแหน่งเริ่มต้น) ไปยัง g5 แล้วเบี้ยขาวที่อยู่ในช่อง f5 สามารถยึดเบี้ยดำนี้ได้ขณะผ่านไปยัง g6 (แต่เฉพาะในตาถัดไปของขาวเท่านั้น)

การเลื่อนขั้น (promotion) เมื่อเบี้ยเดินหน้าไปถึงแรงค์ที่ 8 เบี้ยนั้นจะได้ “เลื่อนขั้น” ในการเดินนั้น และต้องแลกเป็นตัวหมากที่ผู้เล่นเลือก ไม่ว่าจะเป็นควีน เรือ บิชอปหรืออัศวินสีเดียวกัน ปกติเบี้ยถูกเลือกให้เลื่อนขั้นเป็นควีน แต่บางกรณีก็มีการเลือกเปลี่ยนเป็นหมากตัวอื่น ซึ่งเรียกกรณีนี้ว่า underpromotion ในแผนภาพด้านขวามือ เบี้ยในช่อง c7 สามารถเดินหน้าไปยังแรงค์ที่ 8 และสามารถเลื่อนขั้นได้ ไม่มีการกำหนดข้อจำกัดเรื่องตัวหมากที่ถูกเลือกในการเลื่อนขั้น ฉะนั้นจึงเป็นไปได้ที่จะมีตัวหมากชนิดเดียวกันมากกว่าตอนเริ่มเล่น (ตัวอย่างเช่น ควีน 2 ตัว)

ตัวอย่างการเดินของเบี้ย การเลื่อนขั้น (ซ้าย) และการกินผ่าน (ขวา)

การรุก (check) เมื่อคิงถูกโจมตีโดยหมากฝ่ายตรงข้ามหนึ่งหรือสองตัวจะเรียกว่า คิงถูกรุก ฝ่ายถูกรุกต้องสนองตอบการรุกด้วยการเดินตามกฎ (legal move) เพื่อทำให้ตำแหน่งที่คิงอยู่ไม่ถูกโจมตีโดยตรง (คือ ไม่ถูกรุก) ซึ่งมีตั้งแต่การยึดหมากที่กำลังรุกอยู่, หรือการเดินหมากมาคั่นกลางระหว่างหมากที่กำลังรุกคิง (ซึ่งเป็นไปได้เฉพาะกรณีหมากที่รุกเป็นควีน เรือ หรือบิชอป และมีช่องระหว่างหมากนั้นกับคิง), หรือการเดินคิงหนีไปยังช่องที่ทำให้ไม่ถูกโจมตี ส่วนการเข้าป้อมไม่สามารถใช้ในขณะถูกรุกได้ ส่วนกรณีที่ฝ่ายรุกทำการรุกคิงฝ่ายตรงข้ามพร้อมกับเตรียมกินหมากอื่นได้ด้วยหลังจากที่คิงเดินหนี จะเรียกว่า รุกฆาตแต่เป้าหมายของการชนะเกมคือ รุกจนฝ่ายตรงข้าม (checkmate) ซึ่งจะเกิดขึ้นเมื่อคิงฝ่ายตรงข้ามถูกรุกแล้วไม่สามารถเดินตามกฎเพื่อให้คิงนั้นไม่ถูกโจมตีได้

การจบเกมแม้เป้าหมายของเกมคือเพื่อรุกจนฝ่ายตรงข้าม แต่เกมหมากรุกไม่จำเป็นต้องจบลงด้วยการรุกจน ผู้เล่นอาจถอนตัวซึ่งผู้เล่นอีกคนหนึ่งจะเป็นฝ่ายชนะ หากเป็นเกมที่มีการควบคุมเวลา ผู้เล่นอาจเล่นจนหมดเวลาแล้วแพ้ได้ แม้จะอยู่ในสภาพที่เหนือกว่ามากก็ตาม เกมยังอาจจบลงด้วยการเสมอ การเสมอสามารถเกิดขึ้นในหลายสถานการณ์ รวมถึงการเสมอด้วยการตกลง การเสมอเพราะไม่มีการเดินตามกฎ (stalemate) การเดินซ้ำไปมาสามครั้ง (threefold repetition of a position) กฎการเดินห้าสิบ (fifty-move rule) หรือการเสมอเพราะไม่สามารถรุกจนได้ ซึ่งมักเกิดเพราะไม่มีหมากเหลือมากพอที่จะรุกจน

วิธีเล่นหมากรุกสากลให้เก่ง

1.เล่นหมากหลากหลายวิธีนี้เป็นอีกรูปแบบหนึ่งที่ช่วยพัฒนาการเล่นหมากรุกไทย เนื่องจากหมากกระดานแต่ละหมากมีเสน่ห์ไม่เหมือนกัน แต่บางเกมก็มีเทคนิคการเดินที่เหมือนกันมาก เช่นหมากรุกสากลที่มีตัวหมากเหมือนหมากรุกไทย การผสมผสานและการเชื่อมหมากเข้าหากันเอามาใช้ร่วมกันได้ ใครที่เล่นหมากฮอสก็ฝึกหมากรุกได้ไม่ยาก เพราะหมากฮอสมีแต้มกับดัก วางหมากหลอกล่อคู่ค่อสู้ หมากฮอสมีแต้มบังคับเดินให้กินต้องกิน ส่วนหมากรุกหากเข้าแต้มบังคับรุกจน ก็ต้องกินหมากเหมือนกัน

2.นั่งดูเซียนพวกที่อยากเก่ง สามารถเรียนรู้แบบครูพักลักจำ ด้วยการไปแอบยืนดูเซียนเล่นตามซุ้มหมากรุก แบบนี้ก็เก่งได้โดยไม่รู้ตัว บางคนยืนดูเฉยๆทั้งวัน เห็นคนเล่นกันไม่ว่าจะเป็นเซียนจริงหรือนักหมากรุกหมากธรรมดาก็ตาม การได้เห็นบ่อยๆซ้ำซากก็เอาไปประยุกต์เพิ่มพูนฝีมือได้

3.ซ้อมบ่อย เล่นบ่อยเซียนหมากไทยเคยวิเคราะห์กันว่า กว่าจะมาเป็นยอดเซียนทุกวันนี้พวกเขาเล่นหมากมากี่กระดานแล้ว เมื่อไปถาม”เซียนป่อง”สุชาติ ชัยวิชิต แชมป์หมากรุกไทยหลายสมัยก็ได้ข้อสรุปคร่าวๆว่า เซียนเล่นเกินแสนกระดานแน่นอน หมากรุกที่เซียนมาชั่วชีวิต เขาเล่นเดิมพันแบบข้ามวัน หากคิดคร่าวๆแบประมาณการว่า เซียนเล่นวันละ 30 กระดาน ปีหนึ่ง 365 วัน คูณเบ็ดเสร็จ 10950 ต่อปี พวกเขาเล่นมาไม่น้อยกว่า 30–40 ปี ก็ถึงแสนกระดาน เซียนหมากรุกเล่นแบบนี้จริงๆ วันๆไม่มีสังคม มีแต่หมากรุกและกระดาน หมกมุ่นแบบไม่มีกิจธุระ เพราะหมากรุกคือชีวิต ดังนั้นเล่นถึงแสนกระดานไม่นับว่าเยอะเกินเลย

4.ถอดหมากเรื่องถอดหมากคือ การนำแต้มหมากที่น่าสนใจมาวิเคราะห์กัน บางคนชอบซุ่มเก็บหมากสำคัญไว้ถอดคนเดียวรู้คนเดียว เพราะเป็นแต้มหมากลับก็ดีไปอย่าง แต่บางคนเอามาวิเคราะห์กันเป็นกลุ่ม สามารถถอดหมากได้อย่างสมบูรณ์ หลายคนหลายความคิดย่อมดีกว่าคนเดียวคิดอาจผิดพลาดได้ การถอดหมากยิ่งได้ตำราเซียน นำมาถอดหรือเกมแข่งขันระดับสุดยอดเซียนจะช่วยให้ผู้ฝึกฝนพัฒนาฝีมืออย่างรวดเร็วมาก เคยมีตัวอย่างให้เห็นมาแล้วอาทิ “แดง ขอนแก่น”สาธิต เกษตรชล ที่เป็นนักหมากรุกธรรมดา เขาซื้อตำราเซียนป่องไปฝึกจนเข้าใจแนวทางการเล่นหมากรุกไทยอย่างถูกต้อง สามารถพัฒนาจนฝีมือถึงขั้นแชมป์ขุนทองคำ เพราะการถอดหมาก

5.ฝึกทักษะหมากรุกให้ชำนาญการฝึกทักษะหมากรุกที่สำคัญคือ การฝึกหมากต้นกระดานและปลายกระดาน ทั้งนี้ในช่วงต้นกระดาน หากเข้าใจรูปหมากที่เป็นต่อฝ่ายตรงข้ามก็ช่วยให้เกมๆนั้นได้เปรียบและชนะคู่ต่อสู้ ส่วนปลายกระดานเป็นผลสืบเนื่องต่อกัน หากได้เปรียบคู่อสู้แล้วไม่เข้าใจวิธีไล่หนีก็ไม่เกิดประโยชน์

ผมมั่นใจว่าถ้าทุกคนจำ5ข้อนี้ได้ขึ้นใจทุกคนสามารถเล่นหมากรุกสากลเก่งได้อย่างแน่นอน

--

--